“ ลาหยุด ” ถือเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของพนักงานที่ทุกคนควรได้รับ พนักงานทุกคนมีสิทธิ์ลาหยุดเพื่อพักผ่อน ดูแลสุขภาพ และเติมพลังให้กับชีวิต แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีบริษัทจำนวนไม่น้อยที่สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการลาหยุด ส่งผลต่อสุขภาพจิต ประสิทธิภาพการทำงาน ลองมาดูกันว่า เมื่อพนักงานใช้สิทธิ์การลา บริษัทคุณกำลังทำสิ่งเหล่านี้อยู่ไหม ? แล้วเหตุผลที่บริษัทเหล่านี้เป็นแบบนั้นเพราะอะไร?
10 สิ่งที่บริษัทควรหลีกเลี่ยง เมื่อพนักงาน ลาหยุด
- ติดต่อพนักงานเรื่องงาน: หลีกเลี่ยงการติดต่อพนักงานเรื่องงานระหว่างการลาหยุด ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน การติดต่อเรื่องงานระหว่างการลาหยุด เป็นการรบกวนเวลาส่วนตัว และอาจสร้างความเครียดให้กับพนักงาน และอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเมื่อกลับมาทำงาน
- เพิ่มภาระงานให้พนักงานคนอื่น: ไม่ควรเพิ่มภาระงานให้พนักงานคนอื่น ๆ แทนพนักงานที่ลาหยุด การเพิ่มภาระงานให้พนักงานคนอื่น ในเรื่องที่ยาก ไม่ถนัด อาจทำให้พนักงานมีงานล้นมือ เกิดความเครียด ทำงานผิดพลาด และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และอาจส่งผลต่อบรรยากาศการทำงานในองค์กร
- กดดันให้พนักงานลาหยุดน้อยลง: พนักงานมีสิทธิลาหยุดตามกฎหมาย บริษัทไม่ควรสร้างแรงกดดันให้พวกเขาลางานน้อยลง สิ่งสำคัญคือ การส่งเสริมให้พนักงานดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ
- ตัดสินหรือตำหนิพนักงาน: หลีกเลี่ยงการตัดสินหรือตำหนิพนักงานที่ลาหยุดบ่อย โดยไม่เข้าใจสาเหตุที่แท้จริง ควรพูดคุยกับพนักงานอย่างเป็นส่วนตัวเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข การตัดสินหรือตำหนิ อาจทำให้พนักงานรู้สึกเครียด กังวล รู้สึกผิด ส่งผลต่อสุขภาพจิต และส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับบริษัท
- เพิกเฉยต่อปัญหา: การลาหยุดบ่อยอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพหรือปัญหาส่วนตัว บริษัทควรให้ความสำคัญและใส่ใจ หาแนวทางช่วยเหลือพนักงาน
- ไม่ให้เกียรติสิทธิการลาหยุด: พนักงานมีสิทธิลาหยุดตามกฎหมาย บริษัทควรให้เกียรติสิทธิ์นั้นและอนุมัติการลาตามสมควร ไม่ควรที่จะมองว่าการลาหยุดเป็นปัญหา หรือทำให้พนักงานรู้สึกผิด อึดอัดเมื่อลาหยุด
- ละเลยการสื่อสาร: บางบริษัทละเลยเรื่องการสื่อสารกับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นวัน เวลา ที่พนักงานจะลา งานที่ค้างคา งานที่สำคัญต่างๆก่อนจะลา ควรสื่อสารกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับงาน ความคืบหน้า และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
- ไม่สนับสนุนการลาพักร้อน: การลาพักร้อน ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่วิธีจัดการ บริษัทที่ฉลาดจะมองการลาพักร้อนเป็นโอกาสในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดี ส่งผลดีต่อทั้งพนักงานและองค์กร
- ละเลยนโยบายการลาหยุด: ควรมีนโยบายการลาหยุดที่ชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็น ประเภทของการลาหยุด, จำนวนวันลา, การอนุมัติการลาหยุด, การจ่ายค่าจ้าง ไม่ควรละเลยนโยบายที่ควรจะเป็น อาทิเช่น พนักงานลาป่วยกระทันหัน หัวหน้างานไม่ approve การลา และตัดเงินเดือนพนักงาน
- ลงโทษพนักงาน: การลาหยุดไม่ใช่ความผิด บริษัทไม่ควรลงโทษพนักงานที่ลาหยุดตามสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดเงินเดือน การให้งานเพิ่ม แต่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของพฤติกรรมพนักงาน อาทิเช่น
- พนักงานลาหยุดโดยไม่มีเหตุผล บ่อยครั้ง
- พนักงานลาหยุดโดยไม่แจ้งล่วงหน้า
- พนักงานลาหยุดในช่วงที่มีงานสำคัญขององค์กร
อย่างไรก็ตาม การลงโทษควรเป็นทางเลือกสุดท้าย และควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ควรมีหลักฐานที่ชัดเจน และควรลงโทษอย่างเป็นธรรม
แล้วเหตุผลที่บริษัทกังวลกับการ ลาหยุด คืออะไร?
การลาของพนักงาน ถึงแม้จะเป็นการลาที่ถูกต้องตามนโยบายของบริษัท แต่เมื่อจะหยุด ทำไมพนักงานหลายคนต้องเจอปัญหาต่างๆมากมาย อาจเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผลดังนี้
- วัฒนธรรมองค์กร:
- วัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับผลงานมากกว่าคน มักไม่สนับสนุนให้พนักงานลาหยุด
- วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มงวด เคร่งครัด มักมีกฎระเบียบเกี่ยวกับการลาหยุดที่ยุ่งยาก
- ปัญหาการจัดการ:
- บริษัทไม่มีระบบจัดการการลาหยุดที่มีประสิทธิภาพ
- เกิดปัญหาค้างคามานาน ไม่มีการแก้ไข
- บริษัทมีพนักงานไม่เพียงพอ ทำให้การลาหยุดของพนักงานคนหนึ่ง ส่งผลต่องานของคนอื่น
- ไมเห็นความสำคัญ:
- ผู้บริหารบางคนมองว่าการลาหยุดเป็นปัญหา เป็นการเสียเวลา เสียงาน
- ไม่เข้าใจถึงผลดีของการลาหยุดต่อสุขภาพจิต และประสิทธิภาพการทำงาน
- ไม่ให้ความสำคัญกับ work-life balance
- ปัญหาทางการเงิน:
- บริษัทมีสถานะทางการเงินที่ไม่มั่นคง กลัวการเสียค่าใช้จ่าย
- กังวลว่าการลาหยุดของพนักงานจะส่งผลต่อผลประกอบการ
- ความกลัวการสูญเสีย:
- บริษัทกลัวว่าพนักงานจะลาหยุดเพื่อไปหางานใหม่
- กังวลว่าจะหาคนมาแทนที่ได้ยาก
- ไม่มั่นใจในศักยภาพของพนักงาน
ผลกระทบต่อบริษัท เมื่อพนักงานลาหยุด
- งานสะดุด ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
- ค่าใช้จ่าย อาทิ ค่าจ้างพนักงานที่ลางาน ค่าจ้างพนักงานชั่วคราว และค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ
- ผลประกอบการที่ลดลง
- ภาพลักษณ์ของบริษัท เมื่อเกิดปัญหาการติดต่อประสานงาน
- ความเครียดและภาระงานของพนักงานที่เหลือ
แนวทางแก้ไข:
บริการ outsource ทางออกสำหรับทุกข้อกังวลของการลาหยุด
เมื่อแต่ละบริษัทมีวัฒนธรรม รวมถึงแนวคิด ข้อกังวลที่แตกต่างกันไปในเรื่องการลาของพนักงาน การใช้บริการ outsource เป็นอีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยจัดการกับปัญหาได้ เมื่อใช้บริการพนักงานจาก So People บริษัทคุณสามารถทำตามวัฒนธรรมหรือนโยบายที่ตั้งไว้เต็มที่ บริษัทเราสามารถบริหารจัดการพนักงานของเราได้อย่างดีเยี่ยม และมีพนักงานทดแทนมากกว่า 200 คนต่อวัน ซึ่งเราสามารถจัดส่งพนักงานทดแทน ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าพนักงานตัวจริงให้คุณได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หมดปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูง การต้องจ้างพนักงานเพิ่ม งานไม่เดิน รวมถึงปัญหาบรรยากาศในที่ทำงานอีกด้วย
ปรึกษาการใช้บริการ คลิก
การลาหยุด เป็นสิทธิ์ของพนักงาน แต่บางบริษัทยังไม่เห็นถึงความสำคัญ หรือเกิดข้อกังวลต่างๆในการลาของพนักงาน บริษัทควรสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เอื้อต่อการลา และพัฒนาระบบจัดการการลาหยุดที่มีประสิทธิภาพการ ใช้บริการ outsource เป็นอีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยจัดการกับปัญหาความกังวลต่างๆในเรื่องการลาหยุดของพนักงาน โดยบริษัท outsource จะมีพนักงานสำรองไว้ทดแทนพนักงานหลักที่ลา ทำให้บริษัทไม่ต้องกังวลเรื่องงานที่ค้างคา ค่าใช้จ่าย และอื่นๆอีกมากมาย